ก่อนอื่นขอแนะนำว่า phpNuke ค่อนข้างจะมีช่องโหว่มากพอสมควร หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ ขอแนะนำให้เลี่ยงไปใช้ cms ระบบอื่นแทน
ซึ่งมีคุณสมบัติในการใช้งานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เช่น xoops -
http://www.thaixoops.orgซึ่งสามารถดูวิธีการติดตั้งได้จาก
http://support.pinkkeyhost.com/index.php?topic=154.msg261#msg261หรือ runcms -
http://www.runcms.org (แตกมาจาก xoops/e-xoops ใช้งานง่าย แต่ไม่มี language pack ภาษาไทย)
มาเริ่มการติดตั้งกันเลยดีกว่าครับ
1. สร้าง database สำหรับให้ phpnuke ใช้งานตามขั้นตอนต่อไปนี้
http://support.pinkkeyhost.com/index.php?topic=149.msg256#msg2562. Download ไฟล์ phpnuke หรือ thainuke จากเวบผู้พัฒนา
้http://www.phpnuke.org (เวอร์ชั่นล่าสุด 8.0 แล้ว แต่ก็ยังไม่มีตัว install มาให้เหมือนเดิม)
้http://www.thainuke.org (โดนแฮก .com เลยเปลี่ยนชื่อเป็น .net และก็โดนแฮก .net ก็เปลี่ยนชื่อเป็น .org รอดู dot ต่อไปกันครับ)
* สำหรับ thainuke นั้นมีตัว install มาให้ครับ แต่ตัว install ไม่รองรับ register_global off จึงขอแสดงวิธีติดตั้งแบบ Manual ซึ่งใช้ได้ทั้ง phpnuke และ thainuke ครับ (ทำตามข้อ 3 ต่อไป)
3. ทำการแตกไฟล์ที่ download มาในเครื่องของท่าน ด้วยโปรแกรม unzip หรือ winzip หรือ 7zip
หากท่านไม่มีหาโหลดได้จากหมวด utility guide
http://support.pinkkeyhost.com/index.php?topic=152.msg259#msg2594. เมื่อแตกไฟล์แล้่วจะได้ออกมา 4 folder ย่อย ให้ทำการ upload เฉพาะไฟล์ทั้งหมดใน folder html เท่านั้นพอครับ
โดย upload เข้าไปที่ folder public_html และให้ลบไฟล์ชื่อ index.html บน server ออกครับ
สำหรับโปรแกรม ftp สำหรับ upload สามารถหาได้จากหมวด utility guide เช่นกัน
http://support.pinkkeyhost.com/index.php?topic=49.msg58#msg585. ทำการ Import database ตามขั้นตอนต่อไปนี้ (ไฟล์ .sql จะอยู่ใน folder sql)
http://support.pinkkeyhost.com/index.php?topic=150.msg257#msg2576. เปิดไฟล์ config.php (บน server) ขึ้นมาแก้ไข (หรือแก้ไขไฟล์ที่อยู่ในเครื่องแล้วทำการ upload ขึ้นไปทับใหม่ก็ได้)
โดยแก้ไขในส่วนของ database settings ให้ตรงกับที่ท่านสร้างไว้ เพื่อให้ระบบสามารถติดต่อ database ได้
และเพื่อความปลอดภัยให้แก้ค่า sitekey ให้เป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ที่เขาตั้งมาให้
บรรทัดที่ต้องแก้ไขมีเพียงบรรทัดที่ผมใส่ //*** ต่อท้ายไว้ครับ บรรทัดอื่นให้คงไว้เหมือนเดิม
$dbhost = "localhost";
$dbuname = "abc_dbuser"; //***
$dbpass = "dbpasswd???"; //***
$dbname = "abc_dbname"; //***
$prefix = "nuke";
$user_prefix = "nuke";
$dbtype = "MySQL";
$sitekey = "546&%)(&(dg6df4hdgdg*(^*6rd8hf64h6fg4h6fgh46"; //***
7. ทำการเรียกผ่าน browser ดู เช่น
http://www.yourdomain.com/index.php(url ที่เรียกจะแตกต่างกันไปตามชื่อโดเมนของท่าน และ folder ที่ท่าน uplaod)
หากท่าน upload ไฟล์ไว้ใน public_html ท่านก็เรียกชื่อโดเมนของท่านตรงๆ
หากใส่ไว้ใน folder ย่อยอีกทีเช่นใน folder ชื่อ phpnuke ท่านก็เรียกเป็น
http://www.yourdomain.com/phpnuke/index.phpหากทำทุกอย่างถูกต้องก็จะพบกับหน้าดัง
ภาพที่ 1 ครับ
8. เข้าหน้าสำหรับ Admin กันครับ โดยแก้ไข url จาก index.php เป็น admin.php แทน
เช่น
http://www.yourdoamin.com/admin.php ก็จะพบกับหน้าดัง
ภาพที่ 2 ครับ
ให้ทำการตั้งชื่อ account ของท่านครับ ซึ่งจะเป็น Account ในการใช้งานและควบคุมระบบ phpnuke
9. ทำการเข้าระบบ Admin ด้วยชื่อและรหัสผ่านที่ตั้งไว้จากข้อ 8 (
ภาพที่ 3)
10. หน้าในการจัดการระบบของ phpnuke (
ภาพที่ 4)
ในเบื้องต้นให้เลือกที่เมนู ค่าติดตั้งเฉพาะระบบ และทำการตั้งค่าเบื้องต้นสำหรับเวบของท่าน
11. ต่อจากนี้เป็นหน้าที่ของท่านในการศึกษาการใช้งานระบบ phpnuke ในเรื่องต่างๆ
โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลและสอบถามปัญหาได้จากเวบ/เวบบอร์ดของ
http://www.thainuke.org ครับ
ขอให้มีความสุขกับการใช้งาน phpNuke ครับ