ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

» Enter Pinkkeyhost Website «

เว็บโฮสติ้ง Pinkkeyhost :: Support Center
Pinkkeyhost
หน้า: 1
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดร้านขายของออนไลน์ ต้องทำอะไรบ้าง  (อ่าน 20670 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
PinkkeyHost
Online Supported
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 363


« เมื่อ: 23 ก.พ. 2007 11:43 »


เปิดร้านขายของออนไลน์ ต้องทำอะไรบ้าง

การลงทุนสร้างร้านค้า สำหรับขายของบน internet ต้องลงทุนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. domain name
2. พื้นที่สำหรับเก็บเว็บไซต์

เว็บไซต์ดังกล่าว ก็จะแสดงข้อมูลเกี่ยวร้านค้า
แสดงรายการสินค้า ระบบตระกล้าชื้อสินค้า ระบบคิดเงินและจ่ายเงิน

ระบบดังกล่าว เดี่ยวนี้มีให้ใช้เยอะแยะเต็มไปหมด ทั้งเสียเงิน และไม่เสียเงิน


ก่อนจะทำร้านค้าบนเว็บ
เริ่มที่ คุณคือใคร ขายอะไร ลูกค้าเป็นใคร คู่แข่งเป็นใคร แล้วคุณมีจุดแข็งอย่างไร และแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร ทำไมลูกค้าต้องขื้อสินค้าคุณ
เมื่อทำเว็บ คุณเน้นให้บริการใคร B2C, B2B, B2G ซึ่งก็มีจุดประสงค์แตกต่างกันออกไป
มีแผนการดำเนินการอย่างไร แผนการลงทุน 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน หรือ 1 ปี แผนการตลาดเป็นอยางไร ทั้งระยะสั้น และระยะยาว
มีการจัดส่งสินค้าหรือบริการอย่างไร และมีช่องทางในการชำระเงินอย่างไร...เป็นต้น...

ระบบที่ต้องใช้ ก็มี Server และ Software
Server เริ่มต้นก็อาจเช่าไปก่อน จนระบบเสร็จดีแล้ว หากมีลูกค้าเยอะ อาจค่อยขยายไปเช่าทั้ง Server (หรือเอา server ไปวาง หรือใช้ lease line กับองค์กรคุณ) การเลือก ที่อยู่ของ server ก็ขึ้นอยู่กับว่า ลูกค้าคุณอยู่ไหน ในไทย หรือในต่างประเทศ ความสะดวก ค่าเช่า ความปลอดภัย เป็นต้น...

Software ที่จะเอาไปทำร้านค้ามีเยอะมากครับ แบ่งเป็น software ที่ช่วยการ generate ร้านค้า มีทั้ง script สำหรับทำพวก shopping cart จนไปถึง ระบบ CMS สำหรับ E-commerce เลย ยกตัวอย่าง OSCommerce ซึ่งเป็นระบบ ecommerce ที่นิยมมาก http://www.oscommerce.com/ หรือของไทยที่เอามาแก้ไขและแจกฟรีก็มี
ThaiOSCommerce


ระบบ Ecommerce โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย

Store Front หน้าร้าน มักประกอบไปด้วย
1. Online Catalogue อันนี้สุด basic โดยทั่วไปขาดไม่ได้เลย เป็นส่วนที่แสดงสินค้า และรายละเอียดให้ลูกค้าดู
2. Shopping Cart เป็นเหมือนรถเข็นหรือตระกร้าในห้าง จะหยิบสินค้าเข้าหรือออกก็ได้
3. Payment System ส่วนนี้อาจเป็นไปได้ทั้ง mail order, ให้ลูกค้าโอนเงิน หรือการตัดบัตรเครดิต

สำหรับการตัดบัตรมีสองแนวทางให้เลือก Embarrassed
- ใช้บริการของ bank ขั้นตอนจ่ายเงินก็จะกระโดดไปจ่ายที่เว็บของ bank จ่ายได้หรือไม่ได้ก็ตาม จะกระโดดกลับมายังเว็บ การทำงานลักษณะนี้ยังผู้ให้บริการที่เป็นคนกลาง เช่น paypal, 2checkout เป็นต้น ส่วนในไทย ก็มีบริการเช่นนี้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น paysbuy หรือ thaiepay

- เชื่อมต่อกับระบบ bank เรียก merchant account จะเป็น API ให้ติดต่อกับ bank โดยตรง ดังนั้นจึงไม่ต้องกระโดดไป กระโดดมา ..


4. Member System เป็นส่วนที่เก็บรายละเอียดลูกค้า หากลูกค้ากลับมาใหม่ จะไม่ต้องใส่รายละเอียดใหม่ หรือใช้เป็นช่องทางติดต่อลูกค้า


Back Office หลังร้าน
1. product manager ส่วนใหญ่ก็เป็นการแก้ไขข้อมูลสินค้าต่างๆเช่น จำนวนสินค้าใน stock ราคา รายละเอียด น้ำหนัก สถานะของสินค้า เปิดให้ชื้อได้หรือไม่ได้ เป็นต้น
2. order system สำหรับตรวจสอบใบสั่งชื้อของลูกค้า ว่าจ่ายเงินหรือยัง จ่ายทางไหน
3. tracking เป็นการตรวจสอบว่า สินค้าที่ลูกค้าสั่งชื้อ อยู่ในขั้นตอนใด เช่น สถานะ pending รอการจ่ายเงิน หรือส่งว่าสินค้าไปแล้ว หากติดต่อกับระบบของผู้ขนส่งได้(เช่น fedex,DHL) ก็จะทราบได้ว่า ตอนนี้สินค้าอยู่สนามบิน บนเครื่องบิน อยู่บนรถ ถึงปลายทางหรือยัง ลูกค้าเซ็นต์รับของไปหรือยัง เป็นต้น ซึ่งทั้งลูกค้าทั้งคนขายก็พอใจที่ได้ข้อมูล นอกจากนี้บางบริษัท ยังมีบริการเก็บเงินปลายอีกด้วย(สะดวกเข้าไปอีก)
4. report อันนี้ก็เป็นส่วนที่รายงานการขาย เช่น มีลูกค้าสั่งของกี่คน อยู่ระหว่างจัดส่งกี่คน แล้วสินค้าเราจะพอขายมั้ย อ้อช่วงนี้เทศกาลนะ ปีที่แล้วของขายได้เยอะ ก็น่าจะมีแนวโน้มที่จะขายได้เยอะ สั่งของมาไว้ใน stock หรือทำเป็น event marketing เพื่อสร้างยอดขาย สร้างความน่าสนใจ เป็นต้น

** ก็เป็นการยกตัวอย่างครับ ของระบบ ecommerce โดยทั่วๆไป ครับ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นอย่างนี้ ควรปรับให้เหมาะสมกับองค์กร และสะดวกต่อการชื้อขายเป็นสิ่งสำคัญ **



การตัดเงิน หรือรับเงินจากบัตรเครดิต

มีรายละเอียดเยอะนะครับ แบ่งเป็น ใช้ระบบในไทย ใช้ในต่างประเทศ

มาคุยกันก่อน อะไรคือ payment gateway และ merchant account?
payment gateway ของผมหมายถึง ระบบที่เมื่อถึงขึ้นตอนชำระเงิน ต้องส่งข้อมูลและ redirect ไปกรอกข้อมูลบัตรเครดิตที่ธนาคาร  ขอเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า payment gateway  เนื่องจากว่าไปคำที่คนไทยเข้าใจ และธนาคารในบ้านเรา เรียกใช้กันแต่เริ่มแรก  ไม่รู้ว่าจะเรียกบริการดังกล่าวให้ชัดเจนว่าอย่างไร

merchant account คือบัญชีร้านค้า ที่สามารถตัดเงินผ่านระบบของธนาคารได้  หมายความว่า เราสามารถตัดเงินผ่านช่องทางที่ธนาคารหรือผู้ให้บริการจัดเตรียมให้ (เชื่อมระบบตรง กับธนาคาร)


ในต่างประเทศ ก็จะมีทั้งแบบ payment gateway/ merchant account
ถ้าเป็น merchant account นั้น เราต้องเปิดบัญชีไว้ก่อน เมื่อเปิดเรียบร้อยแล้ว
เราสามารถตัดเงินที่เว็บของเราได้ โดยไม่ต้องกระโดดไปกระโดดมากระหว่างเว็บและธนาคาร
ลักษณะการทำงานคือ เมื่อเราได้ข้อมูลบัตรเครดิตแล้ว เราก็ส่งข้อมูลการตัดเงินไปยังธนาคาร โดยผ่านช่องทางต่างๆ ที่ธนาคารได้จัดเตรียมไว้ เช่น web service, https (SSL) เป็นต้น

ในประเทศไทย ระบบการตัดเงินมักเป็นรูปแบบส่งไปมาระหว่างเว็บมากกว่า เนื่องสะดวก รวดเร็ว
เงือนไขสมัครไม่ค่อยยุ่งยาก แต่ส่วนใหญ่ต้องเป็นสมาชิกร้านค้ารับบัตรเครดิตเสียก่อน แล้วค่อยสมัครเป็นร้านค่ารับบัตรเครดิตผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้ายังรู้สึกว่ายุ่งยาก ลองดูผู้ให้บริการอย่าง paysbuy ก็ได้

หากต้องการตัดที่เว็บเราก็ทำได้ เท่าที่ผมได้ยินมา ต้องเป็นนิติบุคคล และมีเงินในบัญชีไว้หลายแสนบาท ลองสอบถามกับ ธ.เอเซีย หรือ ธ.ไทยพาณิชย์ฯ และล่าสุดกสิกรไทยก็มีแล้ว เงื่อนไขแต่ล่ะแห่งไม่เหมือนกัน


ในต่างประเทศ ที่ดังๆ ก็ paypal, e-onlinedata , authorize.net
e-onlinedata
NO Application Fee
NO Annual Fee
NO Cancellation Penalties
No Batch Header Fees 2.15%% Qualified Discount Rate VISA/MasterCard
$0.25 cents per transaction (includes the cost of Address Verification AVS)
$25 Monthly Minimum
Discover and American Express upon request
$10 monthly Statement Fee
Authorize.Net Virtual Terminal and API
FREE Authorize.Net Set up
$10 Authorize.Net Monthly Gateway Access Fee
First 250 transactions free monthly, then just $0.05 per transaction
* ข้อมูลปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว

อีกที่หนึ่ง ที่ผมแนะนำและเคยใช้อยู่ คือ http://www.linkpoint.com/
ระบบ API ดีมากครับ แต่มีเงื่อนไขว่า
1. เป็นนิติบุคคล (ต้องเป็นพลเมือง USA , มีบริษัทใน USA)
2. $15 สำหรับแต่ล่ะบัตร Visa, Amex, ...
3. ค่า charge เป็น %% ไม่แน่ใจครับ แต่น้อย
4. ค่า refund แพง
เมือพูดถึงอันดับความนิยม ติด 1 ใน 5 อย่างแน่นอน


สำหรับการตัดบัตรในไทย
สามารถใช้ได้ทั้งบริการของธนาคารพาณิชย์
หรือจากผู้ให้บริการรับเงินบนอินเทอร์เน็ต
ยกตัวอย่างเช่น paysbuy, thaiepay

สำหรับการสมัครกับธนาคาร ค่อนข้างยุ่งยากกว่า
เนื่องจากสมัครเป็นร้านค้าที่รับบัตรเครดิต แต่ต้องปฏิบัติตามเงือนไขตามที่ธนาคารกำหนด
เช่น ต้องมีเงินในบัญชีไม่ต่ำกว่า 50,000
ต้องเป็นร้านค้าที่เปิดบริการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น เงื่อนไขดังกล่าว แต่ล่ะธนาคารไม่เหมือนกัน



ช่องทางในการรับเงิน (เพิ่มเติม)
ใน USA หากเราไม่ใช่พลเมืองอเมริกัน หรือมีบริษัทในประเทศของเขา การใช้บริการ payment gateway ของนอก หรือบริการตัดบัตรที่เชื่อมตรงกันธนาคาร ค่อนข้างลำบาก ผมเคยเห็นคนที่รับ
เปิดบัญชีธนาคารแทนเรา ซึ่งค่าจ้างก็แพงอยู่ หลักหมื่น และจะมั่นใจได้ว่า เขาจะไม่โกงเรา? บัญชีจะเป็นของเรา? ซึ่งมีความเสี่ยงสูง

บริการของ paypal ได้รับความนิยมมาก จริงๆแล้วช่วงแรกๆ ก็ไม่ได้ดังอะไร จนเป็นบริการที่คนทั่วโลก ยอมรับ และเชื่อถือในบริการ

...
เราสามารถใช้ paypal ในการรับเงินจากการชื้อสินค้าหรือบริการได้ แต่การนำเงินออกมานั้น ต้องมีบัญชีที่อยู่ใน usa หรือประเทศที่มีสาขาของ paypal ตั้งอยู่เท่านั้น ซึ่ง paypal ไม่มีสาชาในประเทศไทย
...

* ปัจจุบัน PayPal สามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารในประเทศไทยได้แล้วเกือบทุกธนาคาร โดยหากยอดโอนไม่ถึง 5000บ. จะเสียค่าธรรมเนียม 50บ. หากโอนเกิน 5000 บ. ไม่เสียค่าธรรมเนียม และใช้เวลาเพียง 1-2 วัน


paypal มี account สามแบบ
personal รับเงินผ่าน paypal รับบัตรเครดิตไม่ได้
Premier รับเงินผ่านบัตรเครดิตได้ โดนหักเปอร์เซ็นต์
Business รับเงินผ่านบัตรเครดิตได้ โดนหักเปอร์เซ็นต์ มีชื่อธุรกิจปรากฏใน slip บัครเดรดิต

การรับบัตรเครดิต จะเสียค่าธรรมเนียม อีก 1.9% to 2.9% + $0.30 USD และต้องเป็น account แบบ Premier หรือ Business Account
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.paypal.com/cgi-bin/webscr?cmd=_wp-standard-pricing-outside


payment gateway หรือ merchant account อะไรที่เหมาะกับคุณ
นอกจากรูปแบบการทำงานที่ต่างกันแล้ว ทั้งสองบริการยังมีค่าบริการที่แตกต่างกัน
สรุปง่ายๆว่า ถ้ามี transaction ต่อเดือนสูง ก็เลือกใช้ merchant account จะประหยัดกว่า (แพงค่าใช้จ่ายต่อเดือน แต่จะไปลดค่าธรรมเนียมตัดเงิน) ถ้าลูกค้าน้อยๆ transaction ไม่ค่อยมาก ก็เลือกใช้แบบที่หักค่าธรรมเนียมสูงๆดีกว่า...

Payment Gateway
- ไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน
- อัตราหักเปอร์เซ็นต์ต่อ transaction สูง
- มีค่าธรรมเนียมต่อ transaction ค่อนข้างสูง

Merchant Account
- มีค่าใช้จ่ายรายเดือน
- มีการกำหนด transaction ขั้นต่ำต่อเดือน (ปัจจุบันนี้พบได้ค่อนข้างน้อย หากมีก็ $10 - $15 USD)
- อัตราหักเปอร์เซ็นต์ต่อ transaction ต่ำ
- ค่าธรรมเนียมต่อ transaction ต่ำ

** เป็นข้อมูลโดยทั่วๆไป ครับ ต้องศึกษาเงื่อนไขแต่ล่ะแห่งเสียก่อน
Merchant account บางแห่งไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน แต่ไปกำหนดยอด transcation ขั้นต่ำไว้สูง เป็นต้น

--
ที่มา: http://www.narisa.com/blog/patrickz/index.php?cmd=showentry&eid=239
(ปรับปรุงแก้ไขข้อความบางส่วนให้ตรงกับปัจจุบัน)
บันทึกการเข้า

หน้า: 1
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

PinkkeyHost.com - บริการ เว็บโฮสติ้ง จดโดเมน Co-Location & Dedicated Server

reduce website downtime
Powered by SMF 1.1.16 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF
XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง